Tag Archives: ซิ่นน่าน

  • OTOP น่าน : ผ้าฝ้ายลายน้ำไหล ของชาวไทยลื้อ ของฝากเมืองน่าน

    OTOP เมืองน่าน ผ้าลายน้ำไหลไทยลื้อกว่าจะมาเป็น OTOP 5 ดาว ของฝากขึ้นชื่อ จากเมืองน่าน ผ้าทอลายน้ำไหล ผ้าทอน่าน มีประวัติความเป็นมายาวนานเป็นหนึ่งในสุดยอดลายผ้าซิ่นของเมืองไทย โดยสืบค้นไปจนถึง ชาวลื้อที่อาศัยในมณฑลยูนานประเทศจีน ซึ่งต่อมาได้อพยพถิ่นฐานเข้ามาอาศัยอยู่บริเวณเขตถิ่นฐานที่บ้านล้าหลวง อ.เชียงคำ จ.พะเยา และตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านหนองบัว บ้านต้นฮ่าง ต.ป่าคา อ.ท่าวังผา จ.น่าน และบ้านดอนมูล อ.ท่าวังผา จ.น่าน  ตั้งแต่ประมาณปีพ.ศ.2379  จนถึงปัจจุบัน ชาวไทยลื้อได้รักษาวัฒนธรรมของตัวเองไว้อย่างเหนียวแน่น มี ภาษาพูดของตัวเอง และได้นำศิลปะและภูมิปัญญาต่างต่างติดตัวมาด้วย รวมถึงเทคนิคและลวดลายการทอผ้า ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ ต่อมาได้พัฒนารูปแบบลวดลายให้สวยงามตามแบบท้องถิ่นน่าน จนได้ลวดลายน้ำไหล หรือ ผ้าลายน้ำไหล ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบันนั่นเอง

    นางอุหลั่น จันตยอด รองประธานกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองบัว

    นางอุหลั่น จันตยอด รองประธานกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านหนองบัว

     ผ้าทอลายน้ำไหล มีที่มาอย่างไร

    ชื่อนี้ได้มาจาก ลวดลายของผ้าซิ่นที่มีความพลิ้วไหวเหมือนสายน้ำไหล ในสมัยโบราณนิยมใช้ด้ายเงินหรือดิ้นเงินทอในส่วนของลายน้ำให้ความระยิบระยับเหมือนผิวน้ำยาวต้องแสงอาทิตย์  ต่อมาได้มีการพัฒนาลวดลายมากขึ้นสอดแทรกรูป ต่างๆเข้าไปแต่ก้ยังคงเอกลักษณ์ลายน้ำไหลอยู๋ในผ้าด้วยไม่หายไปไหน ผ้าน่าน ผ้าลายน้ำไหลไทลื้อ เป็นภูมิปัญญาของชาวบ้าน หนองบัว อ.ท่าวังผา จ.น่าน

    ผ้าลายน้ำไหลน่าน

    ผ้าลายน้ำไหลน่าน3

    ผ้าลายน้ำไหล

    ผ้าน่าน ผ้าซิ่นทอมือลายพื้นเมืองน่านที่โดดเด่นมีอยู่ 5 ชนิด คือ

          1) ซิ่นม่าน เป็นซิ่นที่มีลายขวางสลับริ้วสีพื้นไม่เกิน ๓ สี สีที่ใช้ เช่น สีดำ สีแดง ชมพู ม่วง มีลักษณะที่เด่นคือ มีป้าน การจัดช่องขนาดของลายไม่เท่ากัน ตีนซิ่นจะต้องมีสีแดงและป้านใหญ่ที่ต่อจากตีนซิ่นขึ้นไปจะใช้สีน้ำเงินเข้มหรือสีม่วง เพียงสีเดียวและคั่นด้วยริ้วไหมเงินไหมทองทอสลับทั้งผืน
    2) ซิ่นป้อง เป็นซิ่นทอด้วยเทคนิคการขิด ลายขวางสลับริ้ว สีพื้นมีช่วงขนาดเท่ากันตลอด ลักษณะเด่น คือทอเป็นริ้วเล็ก ทอสลับกับลายมุกคั่นด้วยริ้วไหมเงินหรือไหมทองสีสลับนั้นเป็นสีเดียวกันทั้งผืน เช่น พื้นแดง พื้นเขียว พื้นสีน้ำตาล สลับลายมุก
    3) ซิ่นคำเคิบ เป็นซิ่นที่ทอด้วยเทคนิคการเก็บขิดของชาวไทยวนจังหวัดน่าน โดยใช้ดิ้นทองเป็นเส้นพุ้งตลอดทั้งผืน ลวดลายซิ่นจะเป็นลวดลายขนาดเล็กนิยมต่อตีนที่เป็นจกด้วยดิ้นทองเช่นกัน แต่บางผืนอาจจะไม่ต่อตีนจกแต่ทอด้วยผ้าฝ้ายสีพื้นธรรมดา
    4) ซิ่นก่าน เป็นซิ่นของชาวไทลื้อ เมืองน่านที่ทอด้วยลวดลายมัดหมี่ ในภาษาถิ่นเมืองน่านเรียกว่า “มัดก่าน” หรือ “คาดก่าน” ซิ่นก่านนี้มีทั้งที่ทอในลักษณะโครงสร้างของซิ่นป้องและซิ่นม่าน เช่น ซิ่นก่านคอควายเป็นซิ่นพื้นบ้านของ ชาวไทยวน เป็นซิ่นสีดำมีริ้วสีแดงคาดตรงส่วนบนของตีนซิ่น (เหมือนกับการมัดหมี่ในภาคอีสานที่บ้านดอนไชย อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน)
    5) ซิ่นเชียงแสน เป็นซิ่นที่มีลักษณะเป็นผืนผ้าสีแดงมีริ้วสีเข้ม เช่น สีดำ หรือ คราม เป็นลายขวางทอด้วยทคนิคขัดสานธรรมดาตลอดทั้งผืน ชื่อของ ซิ่นชนิดนี้ แสดงถึงแหล่งกำเนิดว่าเป็นเอกลักษณ์เก่าแก่ของชาวไทยเชียงแสนในอดีต

Updating ..
ไม่มีสินค้าในตะกร้า