Tag Archives: ของฝากเมืองน่าน

  • ผ้าซิ่นเมืองน่าน ผ้าลายน้ำไหล

    ของฝากล้ำค่า ผ้าซิ่นเมืองน่าน

    ของฝากล้ำค่า ผ้าซิ่นเมืองน่าน

    ผ้าซิ่นเมืองน่าน ผ้าลายน้ำไหล

    จังหวัดน่านเป็นเมืองที่มีอารยะธรรมเก่าแก่โบราณมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ประกอบหลอมรวมกันด้วยหลากหลายชาติพันธ์ุ ทั้งชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆชาวลาว ชาวสยามและชาวเมืองล้านนาเอง ศิลปะดนตรีวัฒนะธรรมจึงมีการผสมผสาน  มีความสวยงามที่มีเอกลักษณืเฉพาะเมืองน่านเอง นอกจากเครื่องเงินน่าน ที่เป็นของฝาก OTOP 5 ดาวแล้ว ฝ้าฝ้ายทอมือ ฝ้าไหมทอมือ ผ้าลายน้ำไหล ก็เป็นของฝากที่ได้รับความนิยมอย่างมาก ฝ้าทอมือเมืองน่านโดยเฉพาะลายน้ำไหล เป็นลายที่มีความอ่อนช้อยงดงาม ติด top 5 ระดับประเทศ น้อกจากใช้เป็นผ้าซิ่นแล้ว สามารถนำมาประยุกดัดแปลงเป็นเครื่องใช้ไม้สอย ได้หลายรูปแบบ เช่นหมอน ผ้าคลุมเตียง เสื้อ

    ประวัติผ้าซิ่นเมืองน่าน

    สำหรับผ้าทอพื้นเมืองน่านนั้น มีทั้งผ้าที่ทอขึ้นโดยชาวพื้นเมืองเมืองน่านดั้งเดิม และผ้าทอพื้นเมืองที่มาจากแหล่งอื่น สืบเนื่องมาจากความสัมพันธ์ทางการเมือง และการอพยพโยกย้ายถิ่นของผู้คนภายหลังการสงครามจากหัวเมืองชายพระราชอาณาเขต เข้ามาเป็นไพร่พลเมืองของเมืองน่าน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 10-25 กลุ่มชนเผ่าที่สำคัญได้แก่ ไทลื้อ และชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ ผ้าพื้นเมืองน่านดั้งเดิม ได้แก่ ผ้าพื้น ผ้าขาวม้า ถุงย่าม (ลายขาวดำ) ผ้าห่ม (ผ้าตาแสง หรือ ผ้าตาโก้ง) ผ้าลายคาดก่านแบบน่าน ผ้าพื้นเมือง จากแหล่งอื่น เช่น ผ้าตีนจกจากเมืองพิชัย ซิ่นม่าน ซิ่นเชียงแสนจากเชียงตุง ผ้าลายลื้อจากเมืองเงิน เมืองคง เมืองฮุน เมืองล้า และสิบสองปันนา ผ้าไหมซิ่นลาวจากเมืองหลวงพระบางและเวียงจันทร์ ซิ่นก่านคอควาย และซิ่นตามะนาวจากแพร่ ซิ่นลายขวางจากเมืองเชียงใหม่ เป็นต้น
    กลุ่มชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดน่านมีทั้งชนชาติไท ชาวไทยภูเขา ที่อาศัยอยู่เดิมและได้อพยพมาจากล้านช้าง สิบสองปันนา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ได้แก่ ไทยวนหรือไทยโยนก ไทลื้อ ถิ่น(ลัวะ) ขมุ ม้ง(แม้ว) เย้า (เมี่ยน) และมลาบรี (ผีตองเหลือง) จึงทำให้ผ้าทอเมืองน่านมีที่มาหลายแห่งด้วยกัน
     ผ้าทอเมืองน่านเป็นผ้าที่ทอจากฝ้าย ในอดีตนั้นจะใช้ฝ้ายที่มีในท้องถิ่น โดยเริ่มจากการปลูกฝ้าย และเข้าสู่ขบวนการผลิตเป็นเส้นด้าย โดยภูมิปัญญาของท้องถิ่นทั้งหมด รวมทั้งกรรมวิธีย้อมสีธรรมชาติ เช่น สีดำจากผลมะเกลือ สีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากขมิ้น แก่นขนุนและสีน้ำตาลได้จากเปลือกต้นสุน เป็นต้น การสืบทอดทางวัฒนธรรม พบว่า ผู้ที่มีอาชีพทอผ้าส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวไทยลื้อโบราณ

    ผ้าซิ่นเมืองน่าน ผ้าลายน้ำไหล

    ลวดลายและกรรมวิธีการทอผ้าซิ่นเมืองน่าน

    ผ้าซิ่นเมืองน่าน ผ้าลายน้ำไหล

    ลวดลายผ้าเมืองน่านจะเลียนแบบจากธรรมชาติ และลายเรขาคณิต ซึ่งลักษณะการทอจะมี 3 ประเภท
    1) ลายล้วง หมายถึง ผ้าลายในเนื้อเกิดจากการใช้มือจับเส้นด้าย หรือไหมต่างสีสอด (ล้วง) ให้เกิดลายที่ต้องการขณะที่ทอ มีชื่อลายเรียกต่างกันออกไป เช่น ลายใบมีด ลายน้ำไหล ลายดอกไม้ ลายธาตุ ลายปู และลายจรวดที่พัฒนาขึ้นในระยะหลัง เป็นต้น
    2) ลายเก็บมุก มีวิธีทอที่สลับซับซ้อนกว่าลายธรรมดา คล้ายวิธีที่ทำลายขิดภาคอิสาน ช่างทอจะเก็บลายที่ต้องการไว้ก่อนด้วยไม้ต่างขนาด คล้ายกับการสานเสื่อ เมื่อถึงเวลาทอจึงใช้เส้นด้ายพุ่งไปแทนที่ไม้เก็บมุกที่เก็บลายไว้ ลวดลายมีหลายชนิดด้วยกัน คือ
    ลายดอกไม้ เช่น ลายดอกจันทร์แปดกลีบ ดอกแก้ว ดอกมะเฟือง ดอกกุหลาบ ดอกหมาก ดอกเปา (เต็งรัง) ผักกูด และข้าวลีบ ฯลฯ
    ลายของใช้ เช่น ลายโดม ผาสาท (ปราสาท)
    ลายสัตว์ เช่นลายนก นกกินน้ำต้น (คณโฑ) พญานาค นาคชน นาคหวัน (กระหวัด) ช้าง ช้างต่างม้า ม้าต่างหงส์ กระต่าย ฯลฯ
    ลายเรขาคณิต เช่น ลายเส้นตรง ลายเหลี่ยม สี่เหลี่ยมผืนผ้า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขอน้อย ขอลวง ขอเหลียว ฯลฯ
    ลายอื่นๆ เช่น ลายกาบ กาบหลวง กาบซ้อน เขี้ยวหมา (ลายยอด) รวมทั้งลายลื้อชนิดต่างๆ
    3) ลายคาดก่าน วิธีทำคล้ายกับ “มัดหมี่อิสาน” คือ มัดย้อมลายที่ต้องการอย่างง่ายๆ ด้วยเชือกกล้วยลวดลายที่สำคัญได้แก่ ลายก่านแบบดั้งเดิม คาดก่านน้ำไหล และคาดก่านชนิดลายประดิษฐ์ ฯลฯ

    ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.qsds.go.th

     

     

Updating ..
ไม่มีสินค้าในตะกร้า